วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 ที่โรงเรียนวัดศรีสุนทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จังหวัดบุรีรัมย์ ได้จัดกิจกรรมวันวชิราวุธ เพื่อน้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่มีต่อลูกเสือไทย ลูกเสือ เนตรนารี ผู้บังคับบัญชา ร่วมวางพวงมาลา และทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อให้ลูกเสือ เนตรนารี รู้จักการทำกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์ เสียสละเพื่อส่วนรวม รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น




วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

ลูกเสือเดินเทิดพระเกียรติ 5 ธันวามหาราช



การถวายราชสดุดี

การถวายราชสดุดีพระบรมรูปรัชกาลที่ ๖ ในพิธีเปิดการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ และ ลูกเสือ
           
.เครื่องบูชา  จัดตั้งไว้หน้าพระรูป  ควรมี
ก.      ธูป ๑ ดอก
ข.      เทียน ๑ เล่ม
ค.      พานสำหรับวางพวงมาลัย หรือช่อดอกไม้
ถ้าจะใช้เครื่องทองน้อยก็ได้  (ถ้ามีเครื่องทองน้อยก็ไม่ต้องจัด ธุปเทียนเพิ่มเติม)
.พิธีการ เมื่อได้เวลา พิธีกรเชิญประธานในพิธีจุดธูปเทียนถวายราชสักการะ โดยปกติจะเป็นภายหลังที่ได้
จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยแล้ว
.ประธานในพิธี
()เดินไปยังหน้าพระบรมรูป ถวายคำนับ รับช่อดอกไม้หรือพวงมาลัยจากเจ้าหน้าที่ถวายไว้ที่
หน้าพระบรมรูป แล้วจุดเทียน จุดธูป ตามลำดับ
            () เสร็จแล้วลงนั่งคุกเข่า  ประนมมือ ถวายบังคม ๓ ครั้ง แล้วลุกขึ้นยืนถวายคำนับ อีกครั้งหนึ่ง
            () ถอยออกมานั่งเตรียมถวายราชสดุดี ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าครึ่งก้าว คุกเข่าขวาลงตั้งเข่าซ้าย นั่งลงบนส้นเท้าขวา มือขวาแบคว่ำลงบนเข่าขวา แขนซ้ายวางพาดบนเข่าซ้ายเอียงไปทางขวาเล็กน้อย เมื่อร้องเพลงราชสดุดี ให้ก้มหน้าเล็กน้อย และให้เงยหน้าขึ้นตามเดิมเมื่อเพลงจบ
(ถ้าถือหมวกอยู่ด้วย ให้ปฏิบัติตามคู่มือระเบียบแถว ของสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ)
.ผู้เข้ารับการอบรม และแขกผู้รับเชิญอื่นๆ ปฏิบัติดังนี้
() เมื่อประธานเดินไปจุดธูปเทียนบูชาพระบรมรูป ทุกคนยืนอยู่ในท่าตรง พนมมือ
()เมื่อประธานลงนั่งคุกเข่า ถวายบังคม ให้ทุกคนนั่งลงในท่าเตรียมถวายราชสดุดี
()เมื่อประธานถอยมานั่งในท่าเตรียมถวายราชสดุดี พิธีกรจะขึ้นเพลงราชสดุดี ให้ทุกคนร้องตาม
พร้อมกัน
.เมื่อจบเพลงราชสดุดีแล้ว พิธีกรจะสั่งให้ทุกคน ลุก  ทุกคนลุกขึ้นยืน เมื่อประธานเดินไปนั่งยังที่แล้วให้ทุกคนนั่งลง

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

ทฤษฏีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด    
           เป็นทฤษฏีพัฒนาขึ้นโดยเฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด  ทฤษฏีนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ทฤษฏีวงจรชีวิต  มีแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญ  คือ สถานการณ์ที่ต่างกันย่อมต้องการแบบอย่างผู้นำที่แตกต่างกัน   
การเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลได้นั้นจำเป็นที่ผู้นำจะต้องปรับแบบภาวะผู้นำของตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆเหล่านั้น
           เฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด (Hersey and Blanchard ) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำของบุคคลว่า  ผู้นำแต่ละคนจะแสดงพฤติกรรมการนำต่อผู้ตาม โดยการผสมผสานพฤติกรรม ๒ ด้านเข้าด้วยกันดังต่อไปนี้
                ๑. พฤติกรรมที่มุ่งงาน  เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงออกต่อผู้ตามในแง่การควบคุม กำกับ กำหนดหน้าที่บทบาทของผู้ตาม
                ๒. พฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์ เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงออกต่อผู้ตามในแง่ที่สร้างความสัมพันธภาพที่ดีต่อบุคคล หรือ ภายในองค์กร ความเป็นกันเอง ให้การสนับสนุนอำนวยความสะดวก ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกัน
            ทฤษฏีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด  จัดกลุ่มคนไว้  4  กลุ่ม   ดังนี้
                1. M1 (บัวใต้น้ำ) เป็นพวกไม่ค่อยมีความรู้ความสามารถ ขาดความเต็มใจในการทำงาน ไม่ค่อยมีความรับผิดชอบ วุฒิภาวะต่ำ การบริหารคนกลุ่มนี้ต้องใช้แบบของการสั่ง บอกทุกอย่าง
                2. M2 (บัวกลางน้ำ) คนกลุ่มนี้มีวุฒิภาวะต่ำถึงปานกลางมีความรู้ความสามารถไม่มากนัก แต่มีความเต็มใจในการทำงาน รับผิดชอบงานเป็นผู้ที่มั่นใจแต่ขาดความชำนาญ การบริหารคนกลุ่มนี้ต้องใช้แบบการขายความคิด  
                3. M3 (บัวปริ่มน้ำ) คนกลุ่มนี้มีวุฒิภาวะปานกลางถึงสูง ทำงานตามที่ผู้นำต้องการ ผู้นำต้องมีการสื่อสารสองทางและรับฟังอย่างสนใจ เพื่อสนับสนุนผู้ตามให้พยายามใช้ความสามารถที่มีอยู่ ให้การสนับสนุน ไม่ออกคำสั่ง ผู้นำและผู้ตามร่วมกัน ในการตัดสินใจ การบริหารคนกลุ่มนี้เน้นการทำงานแบบการมีส่วนร่วม
                4. M4 (บัวพ้นน้ำ) คนกลุ่มนี้มีวุฒิภาวะสูงมีความรู้ความสามารถมีความเต็มใจและมั่นใจในการปฏิบัติงานมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย การบริหารคนกลุ่มนี้ใช้รูปแบบการมอบหมายงานให้ทำ/มอบอำนาจในการตัดสินใจ  
ลักษณะของผู้ตาม              วุฒิภาวะของผู้ตาม ประกอบคุณสมบัติ ๒ ประการ ดังนี้
                ๑. ความสามารถในงาน ได้แก่ ความเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และ มีทักษะ ในงานที่ทำซึ่งเกิดมาจากผลการศึกษา อบรม ตลอดจนถึงประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำงาน
                ๒. ความใส่ใจในงาน ประกอบด้วยความเป็นผู้มีความมั่นใจ มีแรงจูงใจ มีความรักความผูกพัน ความรับผิดชอบ มุ่งมั่นในงานนั้น
บทสรุป               
           บุคคลตามทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่มและมีวิธีบริหาร ดังนี้
               M1 (วุฒิภาวะต่ำ,ความสามารถน้อย,ขาดความรับผิดชอบ = S1 ( Telling )  การสั่งการ
               M2 (วุฒิภาวะปานกลาง,มีความตั้งใจแต่ขาดประสบการณ์ = S2 ( Selling )  การขายความคิด
               M3 (วุฒิภาวะค่อนข้างสูง แต่ยังขาดความมั่นใจ ขาดแรงจูงใจ = S3 ( Participating ) การร่วม
               M4 (วุฒิภาวะสูง ความมั่นใจสูง มีความรับผิดชอบ = S4 (Delegating) การมอบหมายงาน/อำนาจตัดสินใจ
……………………………………………………